จริงๆแล้วในการผลิตเบียร์นั้นมีหลากหลายกระบวนการ ซึ่งแต่ละสถาบันที่ สอนทำเบียร์ ก็จะมีวิธีที่โปรดปรานของแต่ละคนแตกต่างกันออกไป
โดยเบียร์ทำมาจากส่วนประกอบหลัก 4 อย่างได้แก่
1.มอลต์ (Malt)
- ซึ่งเป็นเมล็ดธัญพืชที่นำมาผลิตเบียร์ ชนิดมอลต์ที่ใช้กันจะขึ้นอยู่กับแต่ละผู้ผลิต มอลต์แต่ละแบบจะมีผลต่อสีและรสชาติของเบียร์ โดยมอลต์ที่นิยมได้แก่ ข้าวบาร์เลย์ เพราะมีปริมาณเอนไซม์ Amylase สูง ทำให้กระบวนการแตกตัวของแป้งเป็นน้ำตาลนั้นเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
2.ยีสต์ (Yeast)
- ทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลในมอลต์ให้เป็นแอลกอฮอล์ และก๊าซ CO2 โดยยีสต์จะแบ่งออกเป็น “Top Ferment – Ale Yeast” ยีสต์ที่ทำงานที่ผิวหน้าของน้ำเบียร์ และ “Bottom Ferment – Lager Yeast” ยีสต์ที่ทำงานด้านล่างของน้ำเบียร์ ทำให้เกิดเป็นเบียร์ประเภทต่างๆ
3.น้ำ (Water)
- เป็นตัวทำละลายในเบียร์ถึง 95% ขึ้นไป ดังนั้นน้ำที่ใช้ผลิตเบียร์เป็นสิ่งที่ brew master หรือคนต้มเบียร์ต้องคำนึงถึงอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นรสชาติหรือแร่ธาตุในน้ำ
4.ฮอปส์ (Hops)
- เป็นพืชให้กลิ่นหอมและรสขม มีหลากหลายสายพันธุ์ซึ่งจะให้รสชาติต่างกันออกไป โดยในดอกฮอปส์จะมีสารชนิดหนึ่งเรียกว่า กรดฮอปส์ (Alpha acid) เจ้ากรดชนิดนี้จะถูกสกัดออกมาเมื่อเรานำดอกฮอปส์ไปต้มจนความร้อนถึงจุดๆหนึ่ง กรดฮอปส์ที่สกัดออกมาจะละลายไปกับน้ำ Wort หรือน้ำเบียร์ระหว่างต้มทำให้เบียร์เกิดรสขมนั่นเอง โดยรสจากฮอปส์ แต่ละสายพันธุ์จะให้เบียร์มีรสขมได้แตกต่างกันมากมายในหลายโทน เช่น ขมละมุน ขมติดคอ ขมอ่อนๆ ขมฝาด หรือขมในโคนลิ้น
ขั้นตอนการทำเบียร์
การที่จะเริ่มต้น ทำเบียร์ให้มีประสิทธิภาพ ควรเริ่มต้นกับสิ่งที่ง่ายที่สุดก่อน เลือกวัตถุดิบที่ใช้ง่าย เลือกอุปกรณ์ที่ง่าย เลือกเบียร์สไตล์ที่ง่าย หากคุณยังไม่เข้าใจเรื่องของเบียร์แต่ละประเภท ความแตกต่างของเบียร์แต่ละประเภท เบียร์ เกิดจากการหมักของ น้ำตาลที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยใช้ ยีสต์ เป็นตัวทำปฏิกิริยาให้ ซึ่งยีสต์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก มีเซลล์เดียว และที่สำคัญคือไม่กินเส้นกันกับเหล่าบรรดาแบคทีเรียซะด้วย เพราะฉะนั้นเวลาเราทำเบียร์ ความสะอาดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ จะสังเกตุได้ว่าต้องมีการฆ่าเชื้อโรคโดยน้ำยาที่ออกแบบมาพิเศษ
ขั้นตอนการทำเบียร์
1.ต้มมอลต์(ในน้ำ)
- เพื่อให้เปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล จากนั้นแยกกากออก จะได้น้ำเวอร์ท (wert) จากนั้นจึงต้มต่อเพื่อหยุดเอนไซม์ แล้วจึงเติมฮอปส์ลงไปแล้วกวนให้ตะกอนโปรตีนและกากฮ๊อพตกลงสู่ก้นถัง เรียกว่าขั้นตอนทั้งหมดนี่ว่าการบริว (brew)
2.ให้ความเย็นกับน้ำเวอร์ท
- เติมอ๊อกซิเจนที่ฆ่าเชื้อและยีสต์ลงไปในเวอร์ท แล้วย้ายไปสู่ถังหมักประมาณ 7-14 วันที่อุณหภูมิประมาณ 14 องศาเซลเซียส ยีสต์จะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์กับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากนั้นจะลดอุณหภูมิให้ต่ำลงเพื่อหยุดการทำงานของยีสต์ และยีสต์จะตกลงสู่ก้นถัง เรียกขั้นตอนทั้งหมดนี่ว่าการหมัก
3.การบ่ม
- ของเหลวที่ได้จะถูกบ่มที่อุณหภูมิไม่เกิน 4 องศาเซลเซียสเป็นเวลาประมาณ 10 วัน ทำให้เบียร์ใส และรสชาติกลมกล่อม เรียกขั้นตอนนี้ว่าการบ่ม
- (Top yeast) การหมักโดยใช้ยีสต์ที่ลอยตัวอยู่เหนือผิวน้ำเบียร์เมื่อเสร็จสิ้นการหมัก เรียกยีสต์ชนิดนี้ว่า ท็อปยีสต์ เบียร์ที่ได้จากการหมักโดยใช้ยีสต์ประเภทนี้เป็นพวกวีทเบียร์, ไวท์เบียร์, อัลท์เบียร์, เคิลช์, เอล, พอร์ทเทอร์และสเตาท์
- (Bottom yeast)การหมักเบียร์โดยใช้ยีสต์ที่จมลงสู่ก้นถังหมักเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการหมัก เรียกยีสต์ชนิดนี้ว่า บ็อททอมยีสต์ เบียร์ที่ได้จากการหมักโดยใช้ยีสต์ประเภทนี้เป็นพวกลาเกอร์เบียร์, พิลเซ่นเบียร์, เบียร์ดำ, บ๊อคเบียร์, ไอซ์เบียร์, เบียร์ที่ปราศจากแอลกอฮอล์, ไดเอ็ทเบียร์
4.การกรอง
- เบียร์ที่ได้จะต้องถูกผ่านระบบกรองยีสต์ที่อาจหลงเหลืออยู่และตะกอนแขวนลอยต่างๆ เรียกขั้นตอนนี้ว่าการกรอง
5.การทำให้ของเหลวใสขึ้น
- เป็นขั้นตอนในการผลิต เบียร์ (beer) ไวน์ (wine) น้ำมัน (fatand oil) น้ำผลไม้ (fruit juice) น้ำตาลทราย (sucrose) สามารถทำได้ด้วยการแยก (separation) ด้วยวิธีต่างๆ เช่น
– การกรองด้วยเยื่อ (membrane filtration)
– การตกตะกอน (sedimentation)
– การหมุนเหวี่ยง (centrifugation)
– การใช้สารดูดซับ (adsorbent)
ในน้ำผลไม้ชนิดใส เช่น น้ำแอปเปิ้ล น้ำองุ่น น้ำลิ้นจี่ ทำให้ใสโดยใช้เอนไซม์เพกทิเนส (pectinase) เพื่อย่อยเพกทิน (pectin)
6.Pasteurization
- การทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค (pathogen) ทุกชนิด และเอนไซม์ (enzyme) ที่เป็นสาเหตุให้อาหารเสื่อมเสีย เป็นวิธีการถนอมอาหาร (food preservation) เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร ทำให้อาหารปลอดภัยต่อการบริโภค
7.บรรจุ
- เบียร์ที่ผ่านการกรองจะถูกบรรจุลงภาชนะหรือแพ็กเกจต่างๆ พร้อมสำหรับการบริโภคต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ครบทุกเรื่องราวเกี่ยวกับ “BEER” แหล่งรวมความรู้ Engineerfriend.com
Beer / เบียร์ – Food Wiki | Food Network Solution
ขั้นตอนการผลิตเบียร์และการทดสอบคุณภาพ
ทำเบียร์ กินเอง สอนทำเบียร์ อุปกรณ์ทำเบียร์ เบียร์ผลไม้ และต้นทุนในการทำเบียร์
Casa Mio Music & Wine Bar เหมาะสำหรับแกงค์ที่ชอบความคุ้มในการดื่ม ทางร้านบริการบุฟเฟต์ไวน์และเบียร์ แบบจำกัดเวลาถึง22.00น. และ มีเบียร์ Hoegaarden Original & Rosé แบบสด และไวน์เลิศรส พร้อมกับอาหารอร่อย
ข้อมูลเพิ่มเติม และจองโต๊ะ
เชียงราย 0956809494
พะเยา 0970985917
เทศกาล Saint Patrick’s Day การเฉลิมฉลองวันนักบุญแพทริก
เทศกาล Saint Patrick̵
งานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ครั้งที่ 3
งานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนาน
เปิดพิกัดร้านอาหารเชียงราย แฮงเอาท์ ปาร์ตี้ชิลล์ๆ ที่ คาซ่า มีโอ เชียงราย
เชียงราย เมืองเหนือสุดในไ