อุตสาหกรรมเบียร์

“ตลาดเบียร์” เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่อีกอุตสาหกรรมหนึ่งของโลก ผู้นำตลาดเบียร์รายใหญ่ที่สุดของตลาดยังคงเป็น Anheuser-Busch InBev มียอดขายถึง 56.4 พันล้าน ดอลลาร์ คิดเป็นเงินไทยราวๆ 1.8 ล้านล้านบาท ทำความรู้จัก “ตลาดเบียร์” ของไทย มูลค่าอยู่ที่ 180,000 ล้านบาท โดยผู้เล่นที่อยู่ในตลาดเบียร์ของไทย คงหนีไม่พ้นเจ้าใหญ่ๆอย่าง ไทยเบฟเวอเรจ เจ้าของเบียร์ช้าง และ บุญรอดบริวเวอรี่ เจ้าของเบียร์สิงห์ ลีโอ และยูเบียร์

ตลาดเบียร์

เป็นอีกตลาดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ เพราะ เบียร์ เป็นหนึ่งในสายของเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ที่บางคนดื่มเป็นประจำด้วยความชื่นชอบ บางคนดื่มเพื่อเข้าสังคม สังสรรค์กับเหล่าเพื่อนฝูง เบียร์ถือได้ว่าเป็นเครื่องดื่มที่สามารถนำมาใช้เชื่อมสัมพันธ์ของการสังสรรค์ในสังคมได้เป็นอย่างดี เพราะมีคนดื่มอยู่ทั่วทุกมุมโลก จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมตลาดเบียร์จึงมีมูลค่ามหาศาลและเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่อีกอุตสาหกรรมหนึ่งของโลกเลยทีเดียว

ผู้เล่นใน ตลาดเบียร์ มีใครกันบ้าง ?

ในอุตสาหกรรมเบียร์ หากดูจากยอดขายล่าสุด ปี 2017 จะเห็นได้ว่า ผู้นำตลาดเบียร์รายใหญ่ที่สุดของตลาดยังคงเป็น Anheuser-Busch InBev มียอดขายถึง 56.4 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นเงินไทยราวๆ 1.8 ล้านล้านบาท ครอบครองสัดส่วนทางการตลาดมากถึง 37% ของยอดขายทั้ง 8 บริษัทที่เป็นผู้เล่นหลักในตลาดนี้ ตามมาด้วย

  • Heineken Holding มียอดขาย 24.7 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นเงินไทยราวๆ 8.2 แสนล้านบาท ครอบครองสัดส่วนทางการตลาด 16%
  • Asahi Group Holdings มียอดขาย 19.4 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นเงินไทยราวๆ 6.4 แสนล้านบาท ครอบครองสัดส่วนทางการตลาด 13%
  • Kirin Holdings มียอดขาย 16.6 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นเงินไทยราวๆ 5.5 แสนล้านบาท ครอบครองสัดส่วนทางการตลาด 11%
  • Molson Coors Brewing มียอดขาย 10.9 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นเงินไทยราวๆ 3.6 แสนล้านบาท ครอบครองสัดส่วนทางการตลาด 7%
  • Carlsberg Group มียอดขาย 9.4 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นเงินไทยราวๆ 3.1 แสนล้านบาท ครอบครองสัดส่วนทางการตลาด 6%
  • Constellation Brands มียอดขาย 7.6 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นเงินไทยราวๆ 2.5 แสนล้านบาท ครอบครองสัดส่วนทางการตลาด 5%
  • Thai Beverage มียอดขาย 5.6 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นเงินไทยราวๆ 1.8 แสนล้านบาท ครอบครองสัดส่วนทางการตลาด 3%

ใครเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง ?

บริษัทเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์อะไรบ้างที่เราดื่มๆกัน เริ่มจากยักษ์ใหญ่ที่สุดของตลาดเบียร์ก่อนเลยละกัน

Anheuser-Busch InBev

เป็นบริษัทที่มาจากการรวมตัว 3 บริษัท 3 สัญชาติเข้าด้วยกัน คือ บริษัท Interbrew จากเบลเยียม บริษัท AmBev จากบราซิล และบริษัท Anheuser-Busch จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งที่ผ่านมา Anheuser-Busch InBev เข้าเทคโอเวอร์อีกหลายบริษัท ทำให้ปัจจุบันมีสินค้าแบรนด์เจ้าเล็กเจ้าใหญ่อยู่ในมือกว่า 500 แบรนด์ โดยแบรนด์หลักๆที่ทุกคนน่าจะคุ้นเคยกันดี อาทิเช่น Budweiser Corona Stella Artois และยังมีแบรนด์อื่นๆ อีกมากมาย

Heineken Holding

เป็นบริษัทเบียร์สัญชาติเนเธอร์แลนด์ที่มีอายุกว่า 144 ปี ปัจจุบันมีขาย 192 ประเทศทั่วโลกให้เหล่านักดื่มได้ลิ้มลอง ไฮเนเก้นถือเป็นเบียร์จากต่างประเทศที่เข้ามาขายในไทยแล้วประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดในตลาดเบียร์พรีเมียมของไทย เคยมีส่วนแบ่งทางการตลาดในไทยมากถึง 95% ปัจจุบันอยู่ราวๆ 80-90% ไฮเนเก้นแบ่งออกเป็น 4 แบรนด์หลักๆ คือ Heineken, International brands, Regional & Local brands และ Cider brands

Asahi Group Holdings

เป็นบริษัทเบียร์สัญชาติญี่ปุ่น ที่คนไทยคุ้นเคยกันดี อาซาฮีมียอดขายเป็นอันดับหนึ่งในญี่ปุ่น มีส่วนแบ่งทางการตลาด 49% ของตลาดเบียร์ญี่ปุ่น อีกทั้งยังมีการส่งไปขายทั่วโลก โดยมีเบียร์ทั้งที่มีแอลกอฮอลล์และไม่มีแอลกอฮอลล์

Kirin Holdings

เป็นบริษัทเบียร์สัญชาติญี่ปุ่นเช่นกัน คิรินแบ่งแยกผลิตภัณฑ์เป็น 2 แบบ คือ ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอลล์กับไม่มีแอลกอฮอลล์ที่ขายในประเทศ และผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอลล์กับไม่มีแอลกอฮอลล์ที่ขายในต่างประเทศ

Molson Coors Brewing

เป็นบริษัทเบียร์ที่เกิดจากการรวมตัวของ 2 บริษัท คือ บริษัท Molson จากแคนาดา กับ บริษัท Coors จากสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีสินค้าส่งออกไปยังทั่วโลก

Carlsberg Group

เป็นบริษัทเบียร์สัญชาติอเมริกา ตั้งบริษัทมาตั้งแต่ปี 1945 มีการขยายตั้งสำนักงานอยู่ทั่วทุกมุมโลก 11 ประเทศด้วยกัน โดยมีการขายสินค้าผ่านแบรนด์ต่างๆไปทั่วโลก

Thai Beverage

เป็นบริษัทเบียร์สัญชาติไทยของเราเอง ไทยเบฟเวอเรจ ตั้งขึ้นในปี 1941 มีอายุกว่า 77 ปี ธุรกิจเบียร์ถือเป็นธุรกิจหลักที่เสริมให้อาณาจักรไทยเบฟเวอเรจขยายอย่างก้าวไกล ไทยเบฟเวอเรจ มีผลิตภัณฑ์เบียร์ทั้งหมด 3 แบรนด์คือ เบียร์ช้าง เบียร์อาชา และเบียร์เฟดเดอร์บรอย โดยมีเบียร์ช้างเป็นหัวใจหลักของธุรกิจเบียร์

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.moneybuffalo.in.th